» คณะแพทยศาสตร์ มข.จัดประชุมโครงการเครือข่ายวิชาการไทย-เยอรมัน พร้อมจับมือ 4 มหาวิทยาลัย ลงนามบันทึกข้อตกลง Letter of Intent (280 Views)

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีเปิดการประชุมวิชาการ Exploring Synergies: Kick-off Meeting for the Thai – German Academic Network Project  ณ ห้องประชุมสิริคุณากร 3 ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร โดยมีผู้เข้าร่วมพิธีฯ ประกอบด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และผู้สนใจ ทั้ง Onsite และ Online เป็นจำนวนมาก

พิธีเปิดเริ่มต้น เวลา 09.00 น. โดย รศ.นพ. อภิชาติ จิรวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ กล่าวรายงานความเป็นมาในการจัดงาน รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุม และนายสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในพิธี กล่าวเปิดการประชุม

 

รศ.นพ.อภิชาติ จิรวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ กล่าวรายงาน

รศ.นพ.อภิชาติ จิรวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ กล่าวรายงาน

รศ.นพ.อภิชาติ จิรวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ กล่าวรายงาน ความว่า การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดี สำหรับเจ้าหน้าที่ นักวิจัย และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการพัฒนาความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันและอนาคต การเกษตร สัตวศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์องค์ความรู้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม จากผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการระดับโลก โดยการประชุมครั้งนี้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ Dr. Baroness Sansanee von Enzberg (บารอนเนส ศันย์สนี ฟอน เอนซ์เบิร์ก) ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและเครือข่ายวิชาการไทย-เยอรมัน ซึ่งความร่วมมือนี้ได้พัฒนาไปอย่างมากนับตั้งแต่ท่านบารอนเนสศันสนีย์เสด็จเยือนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 วันนี้ท่านให้เกียรติมาร่วมบรรยาย พร้อมวิทยากร ทั้งในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ การประชุมครั้งนี้ทำหน้าที่เป็นเวทีในการสำรวจความเป็นไปได้และโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนากิจกรรมและโครงการความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ การเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ และสัตวศาสตร์

 

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การจัดงานประชุมครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญแรกของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นร่วมกันต่อนวัตกรรมและความก้าวหน้า เป็นสัญญาณแสดงถึงการพัฒนาในการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรมด้านการแพทย์ สุขภาพ เกษตรกรรม เทคโนโลยีการแพทย์ การเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ และสัตวศาสตร์ อันเป็นสาขาที่สำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์และสังคม ในด้านต่างๆ สาขาเหล่านี้เป็นแรงผลักดันสำคัญในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อความเป็นอยู่ที่ดีของโลก และการรับมือกับความท้าทายในยุคของเรา นอกจากนั้นการประชุมครั้งนี้เป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้แก่อาจารย์ นักวิจัย และแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึก ตลอดจนพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถเพิ่มผลกระทบเชิงบวกของเทคโนโลยีทางการแพทย์ การเกษตร วิศวกรรม และสัตวศาสตร์ต่อสังคมของเรา ที่สำคัญการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะมีส่วนช่วยเพิ่มคุณค่าทางวิชาการตลอดจนสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และรากฐานการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

 

นายสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในพิธี

นายสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในพิธี

ด้านนายสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในพิธี กล่าวว่า การประชุมร่วมกันในครั้งนี้แสดงถึงความร่วมมือทางวิชาการอันเข้มแข็งระหว่างสถาบันการศึกษาไทย-และเยอรมันนี เป้าหมายของเราในวันนี้ คือ การรวบรวมเทคโนโลยีทางการแพทย์ การเกษตร สัตวแพทย์ และวิศวกรรมเข้าด้วยกัน เป็นสัญญาณที่แสดงถึง ความก้าวหน้าในวงกว้าง วันนี้เรามีวิทยากรที่มีชื่อเสียงจากประเทศเยอรมนี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ เชื่อมั่นว่าจะให้ความกระจ่างด้านการวิจัยและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย รวมถึงมีศักยภาพในการกำหนดภูมิทัศน์ของนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพ ในด้านสาขาเกษตรกรรมเป็นการวางรากฐานของการยังชีพและเศรษฐกิจของเรา โดยเรายืนอยู่ในแนวหน้าต่อความท้าทายในโลกยุคใหม่ วิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้มากมายที่จะมีส่วนช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาพืช และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติทางการเกษตร ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนอันประโยชน์ต่อทั้งสัตว์และสภาพแวดล้อมที่ใช้ร่วมกันของเรา และด้านวิศวกรรมศาสตร์ องค์ความรู้ที่ได้นำเสนอในวันนี้จะเป็นวางรากฐานสำหรับความร่วมมือที่ยั่งยืนซึ่งสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ การเกษตร สัตวศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

 

Prof. Dr. rer. nat. agr. Christian Ulrichs Dean, Faculty of Life Sciences, Humboldt University, Berlin

Prof. Dr. rer. nat. agr. Christian Ulrichs Dean, Faculty of Life Sciences, Humboldt University, Berlin

ภายหลังพิธีเปิดเป็นการบรรยาย เรื่อง “Plant ecophysiology” (สรีรวิทยาของพืช) โดย Prof. Dr. rer. nat. agr. Christian Ulrichs Dean, Faculty of Life Sciences, Humboldt University, Berlin ต่อด้วยการบรรยายจาก Prof. Dr. habil. rer. nat. Gudrun A. Brockmann Faculty of Life Sciences, Humboldt University, Berlin เรื่อง “Animal Science and Genetics/Genetic Center”(สัตวศาสตร์และพันธุศาสตร์/ศูนย์พันธุศาสตร์) และการอภิปราย ในประเด็น “Medical Systems Technology / AI & Informatics”(เทคโนโลยีระบบการแพทย์ / AI และสารสนเทศ) โดย Prof. Dr. rer. Nat. Christoph Hoeschen Chair of Medical Systems Technology Institute of Medical Engineering Otto von Guericke University Magdeburg

 

Prof. Dr. rer. nat. agr. Christian Ulrichs Dean, Faculty of Life Sciences, Humboldt University, Berlin

นอกจากนั้นยังมีการอภิปรายผ่านระบบ Zoom meeting ในประเด็น “Medical Technology at the STIMULATE research campus,” โดย Prof. Dr. rer. nat. Georg Rose Chair of Healthcare Telematics and Medical Engineering Institut für Medizintechnik (IMT): Healthcare Telematics Otto von Guericke University Magdeburg,  “Advanced Semiconductor” by Prof. Dr. rer. nat. André Strittmatter Abteilung Halbleiterepitaxie Institut für Physik – FNW (Faculty of Natural Sciences): Advanced Semiconductor Otto von Guericke University Magdeburg และ “TGAN: the Future” (อนาคตของเครือข่ายวิชาการไทย-เยอรมัน) โดย Baroness Sansanee von Enzberg Dr. h.c. (KU Thailand) Kasetsart Academic Representative in Europe, Official University Coordinator from Universities Consortium (MFLU, CMU, PSU, KU, KKU) for the Cooperation with German Educational Institutions, Thai-German Academic Network ปิดท้ายกิจกรรมในช่วงเช้า

 

 

 

 

 

 

ส่วนภาคบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มอภิปราย 4 กลุ่ม ดังนี้ Group 1 “Plant Ecophysiology” (สรีระวิทยาของพืช)โดย Prof. Dr. rer. nat. agr. Christian Ulrichs Dean, Faculty of Life Sciences, Humboldt University, Berlin เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม, Group 2 “Animal Science and Genetics” (สัตวศาสตร์และพันธุศาสตร์) โดย Prof. Dr. habil. rer. nat. Gudrun A. Brockmann Faculty of Life Sciences, Humboldt University, Berlin Venue: Kalapruek Meeting Room 5, 2nd floor, Sirikunakorn Building เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม, Group 3 “It’s OWL Cluster Management NeEC & EEC” (Zoom meeting) โดย Dr.-Ing. Martin Rabe Senior Business Development Manager Fraunhofer-Institut für Entwurfstechnik Mechatronik IEM, Paderborn และ Group 4 “Health Care System: Medical Engineering/ AI & Informatics” (ระบบการดูแลสุขภาพ: วิศวกรรมการแพทย์/ AI และสารสนเทศ) วิทยากรโดย Prof. Dr. rer. Nat. Christoph Hoeschen Chair of Medical Systems Technology Institute of Medical Engineering, Otto von Guericke University Magdeburg

 

 

 

 

 

 

ภายหลังการบรรยายและอภิปรายกลุ่มเสร็จสิ้นลง เวลา 15.00 น. เป็นพิธีลงนามหนังสือแสดงเจตจำนง ด้านการเกษตรและสัตวศาสตร์ (Signing Ceremony Letters of Intent in Agriculture and Animal Sciences) ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เกี่ยวกับความร่วมมือในสาขาและหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น นวัตกรรมด้านการแพทย์ สุขภาพ เกษตรกรรม เทคโนโลยีการแพทย์ การเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ และสัตวศาสตร์ มีการประเมินความเป็นไปได้และประโยชน์ของการร่วมมือกัน ระหว่าง 4 มหาวิทยาลัย ในนามเครือข่ายวิชาการไทย-เยอรมัน ความร่วมมือนี้จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อความเป็นอยู่ที่ดีของโลก และการรับมือกับความท้าทายในยุคปัจจุบันและในอนาคต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Poster : พราวแสง ภูสิงหา [Ms. Prowsaeng Poosinghar] | 8 กุมภาพันธ์ 67