» 6 สาขาวิชา มข. ครองอันดับ 1 SCImago Institutions Ranking สถาบันการจัดอันดับสากล รองอธิการบดี ฝ่ายบริหาร เผยปัจจัยความสำเร็จ ย้ำ! พึงพอใจผลการจัดอันดับ (376 Views)

SCImago Institutions Ranking  หรือ (SIR) สถาบันการจัดอันดับชั้นนำ ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัย ในปี 2024 ซึ่งผลการจัดอันดับครั้งนี้เป็นที่น่ายินดีว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ครองอันดับ 1 ในสาขา Forestry ป่าไม้ Physics and Astronomy ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์  Obstetrics and Gynecology สูตินรีเวช anthropology สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา History ประวัติศาสตร์ Industrial and Manufacturing Engineering  วิศวอุตสาหกรรมและการผลิต นอกจากนี้ยังครองอันดับ 4 ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย

ผศ.นพ.ธรา ธรรมโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยเกี่ยวกับการถูกจัดอันดับในระดับสากล และ ผลงานอันน่าภาคภูมิใจครั้งนี้ว่า  ในปี 2024 นี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นครองอันดับสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มีการติดอันดับที่ 1 ของประเทศ ถึง ุ6 สาขาวิชา และในภาพรวมมีสาขาที่ติดอันดับ  1 ใน 3 ของประเทศถึง 10 สาขาวิชา ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจ ความก้าวหน้าที่ดีอย่างยิ่งของมหาวิทยาลัย

“ในปี 2024 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่อันดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย  https://www.scimagoir.com/rankings.php?country=THA&sector=Higher%20educ โดยสาขาวิชา หลักที่ติด 1 ใน 3 ของประเทศ คือ สาขา Chemistry เคมี สาขา Physics and Astronomy ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ สาขา  Engineering  วิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ สาขา ย่อยที่มีความโดดเด่นเป็นสาขาด้าน วิทยาศาสตร์สุขภาพ และ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โดยครองอันดับต้นๆ มี ดังนี้

อันดับ 1 Forestry ป่าไม้  Obstetrics and Gynecology สูตินรีเวช anthropology มานุษยวิทยา History ประวัติศาสตร์ Industrial and Manufacturing Engineering  วิศวอุตสาหกรรมและการผลิต Physics and Astronomy ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์

อันดับ 2 Religious Studies ศาสนา  Civil and Structural Engineering  วิศวกรรมโยธาและโครงสร้าง

อันดับ 3 Soil Science ปฐพีศาสตร์ Literature and Literary Theory  วรรณกรรม”

จากการจัดอันดับข้างต้น รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดเผยถึงหลักการคิดคะแนนของ SCImago Institutions Ranking  หรือ (SIR)  ที่มีความแตกต่างไปจาก QS World University Ranking หรือ Times Higher Education (THE)  ที่จะเป็นการพิจารณาจากผลงานที่เผยแพร่เป็นหลัก  โดยไม่ได้พิจารณาเรื่องของความมีชื่อเสียง หรือ การเป็นที่รู้จัก ซึ่งสัดส่วนการคำนวณ ประกอบไปด้วย งานวิจัย ประมาณ 50% นวัตกรรม 30 % การทําประโยชน์เพื่อสังคม 20%

“การประกาศผลช่วงที่ผ่านมามีการลงรายละเอียดเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ระดับมหาลัย สาขา และ ระดับความเชี่ยวชาญเฉพาะ รายวิชาต่างๆ แสดงให้เห็นว่า สาขาเหล่านี้มีผลงานเผยแพร่เป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆในประเทศไทย  การประมวลผลของ SCImago Institutions Ranking  หรือ (SIR) จะเป็นการดึงข้อมูลจาก เว็บไซต์ของงานวิจัย เว็บไซต์ของนวัตกรรม เว็บไซต์ของวารสารต่างๆ โดยที่ไม่ได้ขอข้อมูลจากทางมหาวิทยาลัย ฉะนั้นการที่บางสาขาวิชาที่ได้รับการจัดอันดับสูงๆ เช่น Industrial and Manufacturing (วิศวอุตสาหการ) แสดงว่าสาขาดังกล่าวมีผลงานที่ประจักษ์เป็นจำนวนมาก  ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ อาจจะเป็นตัวที่ช่วยในการกระตุ้น หรือ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้  ให้สาขาย่อยอื่นๆ มาเรียนรู้ความสำเร็จดังกล่าว”

สำหรับผลการจัดอันดับครั้งนี้ ผศ.นพ.ธรา ได้กล่าวสรุปในภาพรวมว่ารู้สึกพึงพอใจเป็นอย่างมาก เนื่องจาก 3-4 ปีที่ผ่านมา ทั้งบุคลากร นักศึกษา อาจารย์ ล้วนประสบความยากลําบากจาก วิกฤตการณ์โควิด 19

“หลายปีที่ผ่านมาการจัดเรียนการสอน การวิจัยต่างๆ ทําได้ยากมาก แต่ทุกฝ่ายก็ร่วมด้วยช่วยกันฝ่าฟันมาได้ทั้งอาจารย์ นักศึกษา บุคลากร นอกจากนี้การลงไปทําวิจัยในพื้นที่ก็ทําแทบไม่ได้เลย การสนับสนุนเงินทุนอะไรต่างๆจากภาครัฐก็หดหายไปหมด เพราะนำไปช่วยเหลือเรื่องโควิด 19 ซึ่งเราจะต้องพึ่งพาตัวเอง ฉะนั้นการผลักดันมาถึงขนาดนี้ถือเป็นความร่วมมือ ร่วมใจ ของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง”

“ผมมองว่า 2 ประเด็นสำคัญที่ทำให้เราสามารถฝ่าฟันความยากลำบากและ มีผลงานเป็นที่น่าภาคภูมิใจ จากการจัดอันดับโดยสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก มาจาก 2 ประเด็น คือ 1.ปรัชญาอุทิศเพื่อชุมชน การทำงานเพื่อสังคมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้บ่มเพาะให้บุคลากร และ นักศึกษา มาอย่างยาวนาน และงานวิจัยส่วนใหญ่ เป็นงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง  เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการประเมินเรื่องของการตอบแทนสังคม (social Contribution)  เราจะเป็นมหาลัยที่ได้คะแนนค่อนข้างสูง”

“ประเด็นที่สอง คือ จุดยืนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ให้ความสำคัญเรื่องการสนับสนุนผู้วิจัย นักวิจัย โดยใช้ปัญหาของชุมชน สังคม เป็นหลักในการทํางาน ซึ่งในประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริม เน้นย้ำ ความโดดเด่น ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่ามีผลงานวิจัยที่หลากหลาย มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของชุมชนจริงๆ” รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัย กล่าวปิดท้าย

ข่าว: รวิพร สายแสนทอง

ที่มา: https://th.kku.ac.th/182578/ 

 


Poster : พราวแสง ภูสิงหา [Ms. Prowsaeng Poosinghar] | 3 พฤษภาคม 67