» การเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนา การจัดตั้ง "ศูนย์ฝึกอบรมครูไทยสอนภาษาจีน สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น" (8790 Views)

วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีเปิด "ศูนย์ฝึกอบรมครูไทยสอนภาษาจีน สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น" ผ่านระบบออนไลน์อย่างเป็นทางการ (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "ศูนย์") และมีการจัด "หลักสูตรการวิจัยขั้นสูงสำหรับครูสอนภาษาจีนในท้องถิ่นของไทย"  เป็นครั้งแรก การจัดตั้ง "ศูนย์" เป็นส่วนหนึ่งในการฉลองครบรอบ 15 ปีการก่อตั้งสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และการสร้างแผนการไปสู่เป้าหมาย โดยยึดหลัก“ปรับปรุงคุณภาพ เสริมประสิทธิภาพ ปฏิรูปและพัฒนา” เพื่อเป็นการต้อนรับการเปิดศักราชในการอบรมครูภาษาจีน 

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ท่าน Feng Junying (เฝิง จวินอิง) อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานทูตจีนประจำประเทศไทย ท่าน Liao Junyun (เลี่ยว จวิ้นอวิ๋น) กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดขอนแก่น รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ศาสตราจารย์ Chen Shijian ( เฉิน ซื่อเจี้ยน  ) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ ศาสตราจารย์ Liu xun (หลิว สวิ่น) มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง ศาสตราจารย์ Wang Baohua ( หวางเป่าหัว ) มหาวิทยาลัยครูฮว๋าหนาน เป็นประธานและกล่าวแสดงความยินดี และยังมีอาจารย์ไพรวัลย์ กัญญพันธ์ ตัวแทนครูภาษาสอนจีน  ตัวแทนครูและอาจารย์จากสถาบันขงจื่อ ในประเทศไทย ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ อาจารย์และนักศึกษาของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กว่า 200 คน เข้าร่วมพิธีเปิดออนไลน์และร่วมเป็นสักขีพยานในการก่อตั้ง "ศูนย์"

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับหน่วยงานต่างๆของ กระทรวงศึกษาธิการ จัดหลักสูตรอบรมครูภาษาจีนมาเป็นเวลานาน มีประสบการณ์มากมาย การจัดตั้ง "ศูนย์" ถือเป็นความก้าวหน้าของการฝึกอบรมครูไทยสอนภาษาจีน ของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างเป็นระบบและเป็นมืออาชีพ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะกรรมการอาชีวศึกษาและสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะมีความร่วมมือกันในการฝึกอบรมครู "ภาษาจีน +อาชีวศึกษา"ต่อไป

ท่าน Feng Junying (เฝิง จวินอิง) อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานทูตจีนประจำประเทศไทย ได้ชื่นชมความสำเร็จตลอด 15 ปีที่ผ่านมาในการของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเช่น ด้านสอนภาษาจีน ด้านการสอบวัดระดับภาษาจีน ด้านการวิจัยทำเกี่ยวกับภาษาจีน ด้านการฝึกอบรมผู้ที่มีความสามารถทางด้านภาษาจีน และด้านการบริการชุมชน โดยหวังว่าสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะใช้โอกาสนี้ เพื่อพัฒนาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และหาแนวทางใหม่ในการฝึกอบรมครูไทยสอนภาษาจีนสืบไป

ท่าน Liao Junyun (เลี่ยว จวิ้นอวิ๋น) กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดขอนแก่น ชี้ให้เห็นว่าสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับ โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย กว่า 100 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  สำหรับครูภาษาไทยสอนภาษาจีนแล้ว สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่ได้เป็นเพียงแค่ "ค่ายฝึกประสบการณ์" สำหรับวัฒนธรรมจีนเท่านั้น  แตเปรียบเหมือน "ปั๊มน้ำมัน" เพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถในด้านการสอนและการทำวิจัย ทั้งนี้การจัดตั้ง "ศูนย์" เป็นงานสำคัญในการพัฒนาสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น และยังถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับครูไทยสอนภาษาจีนอีกด้วย

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ประเทศไทยมีความต้องการให้มีการฝึกอบรมครูภาษาจีนท้องถิ่นในโรงเรียนต่างๆมากขึ้น ซึ่งทางสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการวางแผนในการจัดตั้ง "ศูนย์ฝึกอบรมครูไทยสอนภาษาจีน" โดยใช้การบรูณาการระหว่างการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติ การพัฒนาครู และการวางแผนอาชีพในอนาคต เพื่อให้เป็นแนวทางและก่อประโยชน์ตามความต้องการที่แท้จริงของครูภาษาจีนท้องถิ่น

ศาสตราจารย์ Chen Shijian ( เฉิน ซื่อเจี้ยน  ) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ กล่าวว่า ถือเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ ในการร่วมมือกันระหว่างสองมหาวิทยาลัย และยังถือว่าเป็นวันครบรอบ 15 ปีของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการก่อตั้ง "ศูนย์" ถือเป็นก้าวสำคัญอย่างยิ่ง กระผมขอเป็นตัวแทนและยืนยันความสำเร็จของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านการศึกษาภาษาจีนในประเทศไทย โดยเฉพาะการฝึกอบรมครูไทยสอนภาษาจีนขณะเดียวกันสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้เปิดปฐมบทใหม่ในการพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพของการฝึกอบรมครูไทยสอนภาษาจีนอีกด้วย

ศาสตราจารย์ Liu xun (หลิว สวิ่น) มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง กล่าว่า สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 15 ปี และยังประสบความสําเร็จในการฝึกอบรมครูไทนยสอนภาษาจีนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของการฝึกอบรม  การจัดตั้ง "ศูนย์" เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของการพัฒนาการศึกษาภาษาจีนยุคใหม่อีกทั้งยังสะท้อนถึงบทบาทผู้นำ และนวัตกรรมของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเต็มที่ในฐานะ "สถาบันขงจื่อต้นแบบ" ระดับโลก

ศาสตราจารย์ Wang Baohua ( หวัง เป่าฮว๋า ) มหาวิทยาลัยครูฮว๋าหนาน กล่าวว่า สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดฝึกอบรมครูไทยสอนภาษาจีนในท้องถิ่น ถือเป็นการริเริ่มบทบาทที่สําคัญ สําหรับการเรียนการเรียนการสอน และการทำวิจัย อีกทั้งยังเป็นเวทีสำคัญในการทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนการศึกษาภาษาจีน ระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย ซึ่งคาดหวังว่า "ศูนย์" จะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุตามเป้าหมาย และไม่หยุดที่จะพัฒนาต่อไป

อาจารย์ไพรวัลย์ กัญญาพันธุ์ ตัวแทนครูไทยสอนภาษาจีนท้องถิ่น กล่าวว่า รู้สึกขอบคุณสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นอย่างยิ่ง สำหรับความช่วยเหลือในการฝึกอบรมครูสอนภาษาจีน ซึ่งเป็นเวลา มากกว่า 15 ปีมาแล้วที่ท่านได้มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับทางสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเวลาหลายปี ที่มีผู้ได้รับความรู้และประโยชน์จากการฝึกอบรมครูสอนภาษาจีน  ซึ่งปัจจุบันจำเป็นต้องมีการพึ่งพาภาษาจีนเพื่อการ “เปิดประตูสู่วิถีชีวิตใหม่” และยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถพัฒนาการฝึกอบรมและการศึกษาได้อย่างเต็มรูปแบบ

รองศาสตราจารย์ Geng jun  ( เกิ่ง จวิน ) ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฝ่ายจีน) รายงานถึงเกการจัดตั้ง "ศูนย์" โดยได้กล่าวถึงความสำเร็จต่างๆ ในการบริหารงานตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และใช้ข้อมูลการฝึกอบรมครูสอนภาษาจีนเพื่อแสดงให้เห็นว่า การจัดตั้ง “ศูนย์”  เป็นการสืบทอดเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่า “ศูนย์” ได้มีการจัดฝึกอบรมห้องเรียนพื้นฐานภาษาจีนอย่างเป็นระบบ การฝึกทักษะทางด้านภาษาจีน การสอนภาษาจีนขั้นสูง สัมมนาการทำวิจัย และการประชุมเชิงปฏิบัติการการสอนภาษาจีน การพัฒนาระบบ เช่น การสร้างระบบหลักสูตร การสอบและฝึกอบรมวุฒิบัตร การพัฒนาโครงการวิจัย และการจัดทำวารสารวิชาการ ฯลฯ โดยการฝึกอบรมที่หลากหลาย ระบบเนื้อหาการสอน ความต่อเนื่องของการฝึกอบรม ประสิทธิผลของการพัฒนาครู อีกทั้งยังส่งเสริมและพัฒนาในด้านอื่นๆอีกมากมาย และยังมุ่งมั่นในการสร้าง “หนึ่งระบบ สามแผน” เพื่อจัดสรรปันส่วนรูปแบบในการฝึกอบรมด้านการสอนของครูภาษาจีนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละระดับ ขณะเดียวกันคณาจารย์และบุคลากรก็จำเป็นต้องนำความรู้และประสบการณ์มาบูรณาการให้เข้ากับระบบของสถาบันขงจื่อในประเทศไทย พร้อมทั้งการพัฒนาห้องเรียนและนวัตกรรมอย่างแข็งขัน เพื่อสร้างระบบการฝึกอบรมครูภาษาจีนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุทัยวรรณ ด่านวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฝ่ายไทย)  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการก่อตั้ง  “ศูนย์” จะเป็นช่องทางโดยตรงในด้านการให้บริการ อย่างมืออาชีพและมีประสิทธิภาพให้แก่บรรดาครูไทยภาษาจีน “ศูนย์” จะพยายามพัฒนาและจัดหลักสูตรการฝึกอบรมต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ครูสอนภาษาจีนสามารถพัฒนาความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ รวมไปถึงงานวิจัยทางวิชาการ และส่งเสริมการศึกษาภาษาจีนในไทยต่อไป

ช่วงบ่ายของวันที่ 3 สิงหาคม 2564 สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิด "หลักสูตรการวิจัยขั้นสูงสำหรับครูไทยสอนภาษาจีน" อย่างเป็นทางการ โดย ศาสตราจารย์ Liu Xun จากมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้  การบรรยายได้รับความสนในจากครูและนักเรียนกว่า 500 คน เข้าร่วมรับฟังการบรรยายผ่านชิ่งทางออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 200 คน ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และสิ่งต่างๆ เป็นที่ทราบกันดีว่า การสัมมนาครั้งนี้ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มีชื่อเสียง เข้าจัดการบรรยายออนไลน์ และในขณะเดียวกัน ก็จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบรรยายและแนะนำให้ผู้เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม การเรียนการสอนและการทำวิจัย หลังจากที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้ผ่านการสอบและประเมิน จะได้รับใบรับรองการฝึกอบรมที่ออกโดย "ศูนย์"  ทั้งนี้ในส่วนผู้ที่ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น มีสิทธิ์ได้รับทุนจากโครงการวิจัยของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ข่าว/ภาพ: สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 


Poster : พราวแสง ภูสิงหา [Ms. Prowsaeng Poosinghar] | 4 สิงหาคม 64